Blog RSS



เอส ชิษณุพงศ์ นักแสดงและ Home Brewer ผู้ตกหลุมรักกาแฟดริปแบบถอนตัวไม่ขึ้น

‘เอส-ชิษณุพงศ์ สกุลนันทิพัฒน์’ หรือ @Sacezo นักแสดงหนุ่มที่คุมบาร์กาแฟเบื้องหน้าเราตอนนี้ ดื่มกาแฟแก้วแรกๆ ในกองถ่ายที่เจ้าตัวฝึกงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ กาแฟแก้วนั้นเอสบอกเราว่าเขาไม่ได้ดื่มเพื่อเอาความรื่นรมย์ ทว่ามันคือเครื่องดื่มคาเฟอีนรสหวานมันที่เรียกร่างกายให้ตื่นขึ้นมา  นั่นคือเรื่องเล่าจาก 6 ปีที่แล้ว ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน สำหรับเอส กาแฟเป็นกิจวัตรยามเช้าที่ปลุกให้เขามีชีวิตชีวา มีแรงไปทำงานที่ตัวเองรัก มากกว่านั้นกาแฟยังพาเอสไปค้นพบความสุขจากการได้แบ่งปัน และได้รู้จักผู้คนใหม่ๆ ที่หลงใหลกาแฟเหมือนๆ กันด้วย   ตอนนี้ ไอร้อนและกลิ่นหอมฉุยของกาแฟดริปในแก้วถูกวางลง เอสทิ้งตัวลงบนเก้าอี้ฝั่งตรงข้าม บทสนทนาที่ไม่มีสคริปต์เหมือนในซีรีส์ ไม่มีดราม่าเหมือนในเอ็มวี ระหว่างเราและเอสกำลังเริ่มขึ้นแล้ว   จากกาแฟในกองถ่าย เอสเข้าสู่วงการชงกาแฟดื่มเองได้ยังไง เกือบๆ 2 ปีที่แล้ว มีช่วงหนึ่งที่เราติดกาแฟสกัดเย็นของแบรนด์กาแฟแบรนด์หนึ่ง พอดื่มบ่อยๆ ก็เริ่มตั้งคำถามว่ากาแฟสกัดเย็นทำยากไหม ก็เลยไปเสิร์ชดู มีแค่เฟรนช์เพรสก็ทำได้แล้ว จุดเริ่มต้นคือกาแฟสกัดเย็น ตอนนั้นก็บอกตัวเองว่าแค่นี้แหละ ดริป เอสเพรสโซแมชชีน ไม่ทำ ซึ่งจริงๆ คือจำไม่ได้ว่าดริปมาจากไหน เหมือนทำสกัดเย็นกินเองได้พักใหญ่ๆ อยู่ๆ ก็มีเซ็ตอุปกรณ์ดริปโผล่มา ก็ลองดริปตามยูทูปเลย แล้วจากที่ทำกินคนเดียวในบ้าน ตอนนี้ก็กินกันครบทุกคน แถมชงเองได้ด้วย เอสคิดว่าเสน่ห์ของการดริปกาแฟคืออะไร เสน่ห์มันคือการที่เราได้ใช้เวลากับตัวเอง เราเป็นคนที่ค่อนข้างมีโลกส่วนตัว แล้วเวลาดริปมันเหมือนเราได้หลุดไปอยู่พื้นที่ตรงนั้น ซึ่งมันมีความสุข แล้วการดริป ถ้าเราปรับสัดส่วน วิธีการเทน้ำ หรือเบอร์บด แค่นิดเดียวเราก็ได้เห็นอีกคาแรกเตอร์หนึ่งของกาแฟเลย เราว้าวกับตรงนี้ อีกสิ่งที่ชอบคือ เราได้เจอคนชอบกาแฟหลายๆ คน เรารู้สึกว่าคอมมูนิตี้นี้น่ารักดี เป็นคอมมูนิตี้ที่เข้าไปคุยแล้วเราอยู่ได้ทั้งวัน เอสนิยามตัวเองว่าหลงใหลกาแฟแบบขั้นสุด อยากรู้จังเลยว่าขั้นสุดของเอสเป็นแบบไหน ขั้นที่ว่าตอนนี้อุปกรณ์ดริปเนี่ย ถ้าไม่ใช่ความอยากโดยส่วนตัว ไม่น่าจะซื้ออะไรเพิ่มแล้ว อย่างกาก็เปลี่ยนเป็นตัว Fellow Stagg EKG PRO ที่หลายๆ คนให้มันเป็นตัวจบแล้ว ส่วนดริปเปอร์น่าจะมีเกือบ 10 ดริปเปอร์ครับ คือเมื่อก่อนเราก็มีคำถามว่า คนเรามีดริปเปอร์หลายอันทำไมนะ (หัวเราะ)  ซึ่งวันนี้ได้คำตอบหรือยัง ได้แล้วๆ นอกจากสะสมแล้ว ดริปเปอร์แต่ละอันให้คาแรกเตอร์กาแฟต่างกันด้วยนะ ส่วนนอกนั้นก็เป็นเรื่องของเมล็ดกาแฟที่เราอยาก explore ละ แล้วก็อยากเรียนเพิ่ม อยากมีความรู้เพิ่ม อยากรู้ว่าเราควรจะสกัดเมล็ดตัวนี้ยังไงถึงจะเหมาะ เพราะแต่ละเมล็ดมันจะมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดริปอยู่ เราอยากให้ตัวเองเก่งขึ้น ทำกาแฟทุกแก้วออกมาอร่อย   แล้วกาแฟที่อร่อยสำหรับเอสเป็นกาแฟแบบไหน ตรงตัวเลย เป็นกาแฟที่เราดื่มแล้วอร่อย แค่นี้เลย เรารู้สึกว่ามันเทสใครเทสมันเหมือนกันนะ กาแฟที่อร่อยของเราอาจจะไม่อร่อยสำหรับคนอื่น อร่อยของคนอื่นอาจจะไม่ใช่อร่อยของเรา ฉะนั้น ถ้าทำแล้วเราอร่อยก็โอเคแล้ว มันคือผลงานของเรา ซึ่งนี่ก็น่าจะเป็นความสุขโดยทั่วไปของคนทำกาแฟ ทำเอง ชิมเอง แล้ววันไหนทำอร่อย วันนั้นคือวันที่ดีไปเลย   ถ้าเป็นวันที่ทำไม่อร่อยล่ะ ก็แอบเฟลนะ (หัวเราะ) แล้วถ้าวันนั้นเลือกที่จะฝืนทำซ้ำๆ...

Continue reading →



มนุษย์เราใช้อะไรชงกาแฟ? 6 อุปกรณ์ชงกาแฟ (หรือแกฟะ) ตั้งแต่ยุคที่กินกาแฟเพื่อตื่น จนดื่มกาแฟเพื่อความรื่นรมย์

กาแฟมีคาเฟอีนที่ทำให้เราตื่นและมีพลังได้ก็จริง แต่เราต่างรู้กันดีว่าคนทั่วโลกไม่ได้ดื่มกาแฟเพื่อการณ์นั้นอย่างเดียว แต่ยังดื่มกาแฟเพื่อความรื่นรมย์เช่นกัน  อุปกรณ์สุดปัง เมล็ดกาแฟตัวท็อป จึงติดในแฮชแท็ก #ของมันต้องมี เมื่ออยากจะชงกาแฟที่บ้าน แต่เคยสงสัยมั้ยว่า แล้วก่อนหน้าที่คนจะมีอุปกรณ์มากมายประดับบาร์กาแฟ มนุษย์เราดื่มและชงกาแฟกันแบบไหน?  Yellow Stuff จะพาไปไขข้อข้องใจ ว่าอุปกรณ์ชงกาแฟอะไรบ้างที่อยู่ในประวัติศาสตร์การดื่มกาแฟของเรา ‘แก้ว ช้อน และกาต้มน้ำร้อน’ ของ 3 อย่างในยุคของการโด๊ปเพื่อตื่น  ถ้าจะบอกว่าอุปกรณ์การดื่มกาแฟใน First Wave Coffee คือแก้ว ช้อน และกาต้มน้ำร้อนก็ได้ เพราะยุคแรกนี้เป็นยุคแห่ง Instant Coffee หรือกาแฟสำเร็จรูปที่หลักสำคัญนั้นไม่ได้ดื่มเพื่อความรื่นรมย์ แต่ชงเพื่อโด๊ปคาเฟอีนก่อนทำงาน หรือออกรบมากกว่า ย้อนกลับไป กาแฟสำเร็จรูปเกิดขึ้นครั้งแรกที่อังกฤษ ในศตวรรษที่ 18 แต่โลกใบนี้รู้จักกาแฟสำเร็จรูปจริงๆ ในปี 1890 ก็เมื่อ David Strang ชาวนิวซีแลนด์ได้วางขายกาแฟสำเร็จรูปแบรนด์ ‘Strang's Coffee’   ในปี 1900 บริษัท Hills Bros. เป็นที่แรกๆ ที่บรรจุกาแฟคั่วในกระป๋องปิดผนึกสุญญากาศ และหลังจากนั้นไม่นาน George Constant Louis Washington ก็พัฒนากาแฟสำเร็จรูปขึ้นมาในชื่อ Red E Coffee  ทั้งสองแบรนด์นี้ถือเป็นถือเป็นจุดกำเนิดแรกๆ ของการขายกาแฟสำเร็จรูปในเชิงพาณิชย์ ทำให้การคั่วกาแฟดื่มเองในบ้านลดลง เพราะกาแฟสำเร็จรูปนั้นมีน้ำหนักเบา ขนส่งง่าย เก็บได้นาน แถมยังไม่ต้องใช้อุปกรณ์ครัวให้มาก  จะอยู่บนรถไฟ ในสนามรบ ก็ชงได้ง่ายๆ เพียงมีแก้ว ช้อน และกาต้มน้ำร้อน อุปกรณ์กาแฟในยุคนี้จึงไม่มีอะไรซับซ้อน ง่ายดายตามความต้องการของคนในยุคที่ต้องสู้   เครื่องชง Espresso ในยุคเชนกาแฟเฟื่องฟู จากยุคกาแฟผงชงกับนมง่ายๆ มาสู่ยุคเชนคาเฟ่เฟื่องฟู และสารพัดเมนูกาแฟแปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนใน Second Wave Coffee อุปกรณ์ชงกาแฟในยุคนี้ต้องยกให้เครื่องเอสเพรสโซ่ที่เน้นใช้งานตามคาเฟ่มากกว่าที่บ้าน เจ้าเครื่องชงเอสเพรสโซ่เกิดขึ้นในปี 1822 โดย Louis Bernard Rabaut ก่อนที่หลายคนจะนำไปพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การชงแบบประหยัดเวลา เพราะบางเครื่องในยุคนั้นมีจุดขายว่าชงได้ 2,000 แก้วใน 1 ชั่วโมง แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นนั้นอยู่ที่ว่าเจ้าเครื่องเอสเพรสโซ่นั้นได้รับการพัฒนาพร้อมๆ กับวัฒนธรมคาเฟ่ โดยร้านเชนกาแฟอย่าง Starbucks และ Caribou Coffee ฯลฯ  ไม่เพียงทำให้เกิดวัฒนธรรมการดื่มกาแฟนอกบ้าน แต่ยังเป็นยุคที่คนได้เห็นว่ากาแฟไม่ได้มีรูปแบบเดียว แต่มี ’เครื่องดื่มกาแฟชนิดพิเศษ’ หลากหลายแบบ เช่น แฟรปปูชิโน่ ที่คิดค้นโดย Starbucks  ...

Continue reading →



เส้นทางต่อไปของ ‘เจน กวินนาถ’ บาริสต้าที่พาทีมไทยเข้ารอบ Semi-Final เวที World Barista Championship 2023

ถ้าพูดถึง ‘เจน-กวินนาถ วีระวรเวท’ หนึ่งในทีมบาริสต้าผู้ก่อตั้งร้าน Fika & Co เชื่อว่าคนที่ติดตามเวทีการแข่งขันบาริสต้าในช่วง 1-2 ปีมานี้ ต้องรู้จักหรือคุ้นชื่อของเธอ เพราะเจนคือตัวแทนประเทศไทยคนแรกที่พาทีมไทยเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในการแข่ง World Barista Championship 2023 ที่ประเทศกรีซ การก้าวไปถึงจุดนั้นของเธอ สำหรับวงการกาแฟบ้านเรา นี่ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่น่ายินดีเท่านั้น เพราะมันยังเติมกำลังใจให้กับบาริสต้าคนไทยคนอื่นๆ ที่อยากจะปักหมุดเส้นทางมุ่งสู่เวทีโลกแบบเดียวกับเธอด้วย Cr. Barista Association of Thailand   สิ่งที่เราสนใจในตัวเธอไม่ได้มีแค่ประสบการณ์จากเวทีระดับโลกเพียงอย่างเดียว เพราะในปีเดียวกัน อดีตแชมป์คนนี้ก็ตัดสินใจลงแข่งในเวทีเดิมอีกครั้ง (Thailand National Barista Championship 2024) และก็ได้คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ติดมือกลับบ้าน เมื่อเวทีการแข่งขันจบลง ไม่ได้แปลว่าเรื่องราวของบาริสต้าผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกยกออกจากความสนใจเราไปด้วย เพราะเราเชื่อว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นตลอดการเตรียมตัวแข่งขัน รวมถึงประสบการณ์บนเวทีที่แต่ละคนทุ่มกันแบบสุดตัว ย่อมต้องกลายมาเป็นบทเรียนสำคัญที่ส่งผลถึงวิธีคิดและการทำงานของพวกเขาอย่างแน่นอน เจนผูกผ้ากันเปื้อนตัวเก่งและยืนประจำตำแหน่งหน้าเครื่องชงเรียบร้อยแล้ว ไปฟังเจ้าตัวแชร์บทเรียนจากเวทีใหญ่ และไถ่ถามถึงเส้นทางต่อไปของการเป็นบาริสต้าของเธอกัน   คุณเคยเล่าว่าตัดสินใจลงแข่งบาริสต้าเพราะชอบกาแฟจริงๆ ไม่ใช่ต้องชอบเพราะเป็นอาชีพ ถ้าย้อนกลับไป สมมติคุณตัดสินใจด้วยเหตุผลอย่างหลัง คุณคิดว่าตัวคุณในวันนี้จะเป็นแบบไหน คิดว่าวันนี้คงทำกาแฟเหมือนเดิม เป็นบาริสต้าคนหนึ่งที่อยากทำกาแฟให้อร่อย แต่อาจจะไม่รู้วิธีการเชื่อมต่อกับผู้คน ถ้าทำกาแฟอร่อย แล้วลูกค้าถามว่าอันนี้มันอร่อยเพราะอะไร เราคงบอกได้ส่วนหนึ่ง แต่เราไม่มีเรื่องที่จะแบ่งปันเขาเพิ่ม  จริงๆ เราว่าลูกค้าเขารู้เยอะกว่าเราอีก เพราะบาริสต้าทำงานอยู่กับร้านกาแฟ กาแฟที่เราชงก็ตัวเดิมๆ เราไม่ได้รู้จักกาแฟตัวอื่นเพิ่ม แต่ว่าลูกค้าเขามี 7 วัน เขาไป 7 ร้านเลย Journey เขาไปไกลกว่าเรามาก เราเชื่อว่าเขารู้เยอะกว่าเราอยู่แล้ว ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดีมากนะ เพราะว่าสุดท้ายเราก็จะได้คุยกัน สร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน    การเป็นบาริสต้าที่เก่งขึ้น การแข่งขันเป็นคำตอบเดียวหรือเปล่าสำหรับการพัฒนาตัวเอง เราว่าไม่ใช่ จริงๆ ต่อให้เราได้แชมป์อะไรมาก็ตามในเวิลด์สเตจ เราว่ามันยังมีคนชงกาแฟเก่งกว่าเราอยู่ เพราะความคิดของคน การเรียนรู้ของคนมันไม่หยุด ต่อให้ไม่ได้ รู้จักกาแฟหลายตัว แต่การที่เราพยายามเข้าใจกาแฟหนึ่งตัวที่เราใช้ประจำ เราว่าแค่นั้นเราก็ได้เรียนรู้มากแล้ว ยิ่งเราตั้งคำถามมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งได้เรียนรู้มากเท่านั้น การแข่งขันเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งให้คนทำโพรเซสเหล่านี้ คือตั้งคำถาม หาคำตอบ ลงมือทำ บีบให้เราทำเรื่องพวกนี้ ถ้าทำงานตามปกติ เราอาจจะไม่ได้เป็นบาริสต้ามีวินัยขนาดนั้น วันนี้เริ่มตั้งคำถาม อาทิตย์หน้าหาคำตอบ อีกอาทิตย์หนึ่งค่อยหาผลสรุป อีกเดือนหนึ่งค่อยตั้งคำถามใหม่ กลายเป็นว่าลูปของการเรียนรู้เรื่องทั้งหมดนี้อาจจะยาวถึง 3-4 ปี แต่ว่าการแข่งขันคือต้องรู้เดี๋ยวนี้ จะเอาคำตอบแล้ว (หัวเราะ) ต้องไปหาคำตอบมาให้ได้ มันเป็นเรื่องนั้นมากกว่า   ตอนไปแข่ง World Barista Championship 2023 คุณเล่าเรื่อง...

Continue reading →



มุก issariiya ครีเอเตอร์สาวที่อยากชวนทุกคนมองการทำกาแฟที่บ้านให้เป็นเรื่องง่ายและสนุก!

คำว่า ‘กาแฟ’ สำหรับคุณมีความหมายเป็นแบบไหน ? สำหรับครีเอเตอร์ที่มีรอยยิ้มและน้ำเสียงสดใสเป็นลายเซ็นอย่าง @issariiya หรือ มุก-อิสริญา เวชพงษ์ นอกจากกาแฟจะเป็นเครื่องดื่มชุบชูใจให้กราฟิกดีไซเนอร์มืออาชีพอย่างเธอมีแรงสู้กับงานในทุกวันแล้ว โลกที่ซับซ้อนของกาแฟที่เริ่มจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ยังเป็นโลกที่เธอหลงใหล และใจเต้นทุกครั้งเมื่อได้ยินเรื่องราวใหม่ๆ ที่เพื่อนร่วมทางแวะเวียนมาแชร์ให้เธอฟัง เพราะการใช้เวลากับกาแฟเป็นโมเมนต์ที่เต็มไปด้วยความสุขและความสนุก บวกกับแรงบันดาลใจและมิตรภาพน่ารักๆ ที่ได้รับจากโลกกาแฟ ทั้งหมดนี้คือพลังงานดีๆ ที่เธอคนนี้ไม่ได้อยากเก็บไว้แค่กับตัวเอง แต่อยากส่งต่อให้กับคนอื่นๆ ที่ผ่านมาเห็นเธอผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ รวมไปถึงพื้นที่ออฟไลน์อย่างโฮมคาเฟ่ addict.co ที่เธอจับมือเปิดกับแฟนหนุ่มเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ มาทำความรู้จักกับหญิงสาวผู้ตกหลุมรักกาแฟคนนี้ให้มากขึ้น และโอบรับพลังงานดีๆ จากเธอผ่านบทสนทนานี้กัน    อะไรคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณเริ่มตกหลุมรักกาแฟ จริงๆ ก่อนหน้านี้เราก็กินกาแฟแบบคนวัยทำงานทั่วไป เมนูที่กินก็เป็นลาเต้หรือกาแฟผสมน้ำผลไม้ เรากินอเมริกาโนไม่ได้เลยเพราะรู้สึกว่ามันขม แล้วพอมารู้จักกับไมเคิล (หันไปยิ้มให้แฟนหนุ่มที่ยืนชงกาแฟอยู่ใกล้ๆ) เราค่อยๆ โดนเขาป้ายยา   เหมือนเวลาเรานั่งทำงานอยู่ เขาก็ชอบเอากาแฟดำมาเสิร์ฟ ก็ลองชิม พอเป็นกาแฟยุคนี้ เรารู้สึกว่ามันกินง่าย ไม่ได้ขม มีความเปรี้ยว ความหวาน ความหอม ก็เริ่มเห็นความน่าสนใจของกาแฟ จากนั้นเขาก็เอากาแฟหลายๆ ตัวมาให้เราลอง เขานี่แหละ ที่เชียร์ให้เราลองทำกาแฟเอง   แก้วแรกที่ทำจำได้มั้ยว่าเป็นยังไง ขอเล่าสองพาร์ตนะ พาร์ตแรกคือช่วงที่เริ่มจับอุปกรณ์ บอกเลยว่ากินไม่ได้เลยตามสภาพของคนที่เพิ่งเริ่ม (หัวเราะ) แต่พอมาพาร์ตที่เราต้องทำกินเองจริงๆ แล้ว เพราะเรากับแฟนมีเวลางานไม่ตรงกัน คือต้องพึ่งตัวเองว่ายังงี้ก็ได้ แฟนก็เขียนไกด์มาให้ ทำตามปุ๊บ เฮ้ย มันกินได้ หลังจากนั้นมันก็เพิ่มความมั่นใจ ทำไปเรื่อยๆ ทำทุกวัน วันไหนที่จังหวะเราตรงกันก็ทำไปให้เขาชิม เขาก็ฟีดแบ็ก ก็ช่วยกันปรับมา    กาแฟเป็นไลฟ์สไตล์ที่เชื่อมเราสองคน (ยิ้ม) คือถ้าคนเราโฟกัสไม่เหมือนกันมันก็เชื่อมลำบากนิดหนึ่ง เวลาเรามีปัญหาเรื่องกาแฟ หรือขัดแย้งกันเรื่องความรู้ เราจะแชร์กันตลอด จากวันที่เขาบิ้วให้เราชงเองมาจนถึงวันนี้ก็ประมาณปีหนึ่งแล้ว   ในการทำกาแฟกินเอง คุณสนุกกับขั้นตอนไหนมากที่สุด เราสนุกตั้งแต่เปิดซอง เราชอบดูเมล็ดกาแฟ โห ถุงนี้เมล็ดสวยขอชื่นชมหน่อย จริงๆ แล้วเราว่าทุกๆ ขั้นตอนมันมีเสน่ห์ของมันนะ อย่างตอนบด กลิ่นมันก็หอมมากๆ อย่างตอนที่เศร้าๆ แล้วเราดึงโฟกัสมาที่กลิ่น ได้กลิ่นกาแฟเราก็แฮปปี้แล้ว ขั้นตอนการทำก็มีอะไรที่สนุกเยอะ ยิ่งผลลัพธ์ออกมาดีก็ยิ่งแฮปปี้   อะไรจุดประกายให้คุณอยากลองแบ่งปันไลฟ์สไตล์นี้กับคนอื่นๆ ผ่านช่องทางอย่างอินสตาแกรม จริงๆ ช่วงที่เริ่มทำเองเราก็มีถ่ายๆ ลงสตอรี่ ไม่ได้อะไรมากเลย 24 ชั่วโมงมันก็หายไปแล้ว แต่มีวันหนึ่งที่เราเวิร์กฟอร์มโฮม เครียดงานมาก ก็เลยพักเบรก เปิดเพลง ตั้งกล้องตอนดริปกาแฟ ถ่ายเสร็จก็รู้สึกว่าคลิปมันยาวเลยลองตัดลงเป็น Reels แล้วคลิปตัวนั้นก็ดันไปจับกลุ่มคนที่เขากินกาแฟเข้ามา พอทำเรื่อยๆ มีคนดูเรื่อยๆ ก็สนุก เรามีเพื่อนเพิ่มขึ้น แล้วหลังจากนั้นก็ได้เห็นว่ามีหลายคนมากเลยที่ติดตามกาแฟตัวที่เรากินจริงๆ เพราะการที่เราตั้งใจอธิบายเกี่ยวกับกาแฟตัวนั้นๆ...

Continue reading →



5 ไอเดียแมตช์ ACME อุปกรณ์เครื่องดื่มจากแดนกีวี่ที่ทั้งดีไซน์ดี สีสันหลากหลาย

ACME เป็นแบรนด์อุปกรณ์เครื่องดื่มจากประเทศนิวซีแลนด์ที่เกิดจากคอกาแฟที่อยากทำแก้วที่ตอบโจทย์คนรักกาแฟจริงๆ ด้วยความเข้าใจอินไซต์นั้นเองทำให้ ACME ออกแบบทุกอย่างแบบ in detail ทั้งเรื่องหูจับ ความกว้างของปากแก้ว ความหนาของแก้ว จึงไม่แปลกใจที่ ACME จะถูกใช้เสิร์ฟให้กรรมการในการแข่งขันระดับโลกหลายรายการ  แม้ ACME จะเกิดขึ้นจากความตั้งใจออกแบบแก้วกาแฟ แต่ด้วยดีไซน์ที่เรียบง่าย เหนือกาลเวลา แถมยังมีสีสันหลากหลาย เหมาะกับทุกโอกาส ACME จึงเป็นอีกแบรนด์ที่ทั้งคนรักการแต่งบ้านและคอเครื่องดื่มหลากหลายประเภทหลงรัก  พวกเราชาว Yellow Stuff จึงอยากพาทุกคนไปส่อง 5 ไอเดียแมตช์ ACME กับโอกาสต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่เมนูกาแฟกัน!   —--------   ACME กับเมนูชาในวันสบายๆ รูปทรงที่สวยงาม มีให้เลือกหลากสีสัน แมตช์ได้กับประเภทของชาในแต่ละวัน ทำให้แก้วทุกรุ่นของ ACME  ปรับใช้กับเครื่องดื่มได้หลากหลายแนว โดยเฉพาะกับเพื่อนบ้านอย่าง ‘ชา’ ที่ไม่ว่าจะใส่ชาเขียว ชาดำ หรือชาประเภทไหน ก็ตอบโจทย์ @timberyarduk @siftersespresso   คอชาหลายคนเลือกใช้แก้วของ ACME รุ่น Flat white ซึ่งจุได้ 150 ml กับเมนูชานม ชาเอิร์ลเกรย์ บางคนเลือกใช้ Demitasse ที่จุได้ 70 ml กับชาจีนที่เหมาะกับการจิบทั้งวัน  แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากแก้วกาแฟที่ปรับใช้กับชาได้แล้ว ACME ยังมีแก้วสำหรับชาโดยเฉพาะอย่างรุ่น Bibby Tea Cup ซึ่งเป็นพอร์ซเลนผนังบางที่ด้านล่างมีขนาดเล็กเพื่อกักเก็บอุณหภูมิ ส่วนด้านบนกว้างและบางเพื่อให้ชาอุ่นขึ้นพร้อมจิบ    —--------   ACME กับสีสันในวันปาร์ตี้ ไวบ์ทรงงานหนักฉบับกาแฟ ACME ก็ทำได้ ไวบ์สบายจิตสบายใจแบบชา ACME ก็เอาอยู่ แต่ว่าเจ้า ACME ทุกรุ่นนั้นใช้เป็นแก้วไวน์ได้ด้วยนะ โดยเฉพาะ ACME Tajimi ขนาด 300 ml ที่ทำร่วมกับโรงงานเซรามิกอายุกว่า 100 ปีอย่าง Maruasa ในเมือง Tajimi ประเทศญี่ปุ่น ที่นอกจากจะเหมาะกับการดื่มกาแฟฟิลเตอร์และชาแล้ว ก็ยังเหมาะกับการจิบไวน์สุดๆ ด้วยวัสดุดินเผาที่รักษาอุณหภูมิเครื่องดื่มได้ดี ทั้งทรงยังโค้งเข้า ช่วยกักเก็บกลิ่นของไวน์ไว้อยู่หมัด งานนี้มีให้เลือก 3 สี ทั้ง Feijoa (เขียว), Kokako (น้ำเงิน) และ Milk (ขาว) เหมาะกับทั้งไวน์แดง...

Continue reading →


//